คลิก! ช่องทางการตอบแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568                               ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ของ อบต.แม่ทา "ป่าไม้หนา น้ำทาใส ไร้มลพิษ เศรษฐกิจรุ่งเรือง ฟูเฟื่องวัฒนธรรม ผู้นำต้องเข้าใจ"
 ข้อมูล อบต.

นายชาญยุทธ อ๋องทิพย์

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทา
โทร.081-8846358
081-7243140

msgQ&A สายตรงนายก

นายวรรณศักดิ์ แก่นทรัพย์ - ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทา<br>โทร. 089-9018080<br>081-7243140

นายวรรณศักดิ์ แก่นทรัพย์

ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทา
โทร. 089-9018080
081-7243140


informationประวัติและข้อมูลทั่วไป

ประวัติและข้อมูลทั่วไป

องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทาได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2542 โดยมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 60 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป 


1.1 ที่ตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทา ตั้งอยู่เลขที่ 55 หมู่ที่ 5 ตำบลแม่ทา อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ 08-1724-3140 โทรสาร.052-080614 ระยะทางจากที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทา ถึงที่ว่าการอำเภอแม่ออน ประมาณ 30 กิโลเมตร ห่างจากศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ประมาณ 70 กิโลเมตร
ทิศเหนือ จรด องค์การบริหารส่วนตำบลทาเหนือ อ.แม่ออน จังหวัดเชียงใหม่
ทิศใต้ จรด องค์การบริหารส่วนตำบลทาปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน
ทิศตะวันออก จรด องค์การบริหารส่วนตำบลวอแก้ว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง
ทิศตะวันตก จรด องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน


1.2 เนื้อที่
พื้นที่ตำบลแม่ทา มีเนื้อที่จำนวน 72,680 ไร่ คิดเป็น 116 ตร.กม. คิดเป็นพื้นที่ดินที่ใช้ประโยชน์ของประชาชน ร้อยละ 17.46 และเป็นพื้นที่ป่า ร้อยละ 82.54 ประกอบด้วย
1. พื้นที่มีเอกสารสิทธิ จำนวน 5,411 ไร่
2. พื้นที่ได้รับอนุญาตเข้าทำประโยชน์จากกรมป่าไม้ จำนวน 7,282 ไร่
3. พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติขุนแม่ทา จำนวน 54,709 ไร่
4. พื้นที่เตรียมประกาศเขตอุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้ จำนวน 5,276 ไร่


1.3 ภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบเชิงเขา พื้นดินร่วนปนทรายเหมาะสำหรับเพาะปลูกพืชผัก ผลไม้ ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพทางการเกษตร เช่น ปลูกข้าวโพด ทำสวนลำไย มะม่วง เลี้ยงวัว อุตสาหกรรมในครอบครัวซึ่งแปรรูปจากผลผลิตการเกษตร

1.4 จำนวนหมู่บ้าน และประชากร

จำนวนหมู่บ้านในเขต องค์การบริหารส่วนตำบล เต็มทั้งหมู่บ้าน 7 หมู่ และมีประชากรทั้งสิ้น 4,660 คน แยกเป็นชาย 2,352 คน หญิง 2,308 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 40.01 คน/ตารางกิโลเมตร และมี 1,346 ครัวเรือน

2.1 อาชีพ และรายได้
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม เช่น ปลูกข้าวโพดอ่อน ปลูกผัก ทำนา ทำสวนลำไย เลี้ยงโคนม อุตสาหกรรมในครัวเรือน ซึ่งแปรรูปจากผลผลิตทางการเกษตร และส่วนหนึ่งทำงานที่นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ

มีรายได้เฉลี่ยต่อคน / ต่อปี คือ 52,765.- บาท (ข้อมูล จปฐ.69)

2.2 หน่วยธุรกิจในเขต อบต.
ปั๊มน้ำมันและก๊าซ 1แห่ง
โรงสี 5 แห่ง
ตลาดเอกชน 2 แห่ง




แชร์หน้านี้: