
นายวรรณศักดิ์ แก่นทรัพย์
ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทา
โทร. 089-9018080
081-7243140
ฐานข้อมูลภูมิปัญญท้องถิ่น
ฐานข้อมูลภูมิปัญญท้องถิ่นตำบลแม่ทา
ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom) หมายถึง พื้นความรู้ความสามารถที่ผ่านกระบวนการคิดโดยใช้สติปัญญาของคนในท้องถิ่น
มีการเรียนรู้และการถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งจนเกิดผลดีงาม มีคุณค่า
มีประโยชน์สามารถนําไปใช้ในการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาคุณภาพชีวิต
หรือใช้เป็นแนวทางในการดํารงชีวิตให้สอดคล้องกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละยุคสมัย
ฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น แบ่งออกเป็น 8 สาขา/ด้าน ดังนี้
สาขาที่ 1 ด้านเกษตรกรรม คือ ภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการกสิกรรม/การปศุสัตว์/การประมง/การป่าไม้ เช่น การทําการเกษตรแบบผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่ โคก หนอง นา เป็นต้น
สาขาที่ 2 ด้านหัตถกรรม คือ ภูมิปัญญาท้องถิ่นในงานฝีมือหรืองานช่างที่ทําด้วยมือและอุปกรณ์อย่างง่าย โดยไม่ใช้เครื่องจักรเป็นองค์ประกอบหลักในการผลิต เช่น งานจักสาน, งานแกะหนังตะลุง, งานทอผ้าด้วยมือ,งานเย็บปักถักร้อย, การทําหัวโขน เป็นต้น
สาขาที่ 3 ด้านอุตสาหกรรม คือ ภูมิปัญญท้องถิ่นในงานที่ใช้ทุน แรงงาน และเครื่องจักรเป็นองค์ประกอบหลักในการผลิต
โดยมีเป้าหมายการผลิตสิ่งของเป็นจํานวนมากเพื่อการค้า และรวมถึงงานด้านการบริการ
เช่น การทําเครื่องเรือนจากไม้แปรรูป (โต๊ะ/เตียง/ตู้) การแปรรูปสิ่งต่าง ๆ
จากยางพารา เป็นต้น
สาขาที่ 4 ด้านการแพทย์ไทย คือ ภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการดูแลและรักษาสุขภาพแบบพื้นบ้าน เช่น การหัตถเวชกรรมไทย (การนวดไทย/การนวดประคบสมุนไพร), การใช้สมุนไพรในการรักษาโรค, การผดุงครรภ์พื้นบ้านโดยหมอตําแยของชาวไทยมุสลิม (โต๊ะบิแด) เป็นต้น
สาขาที่ 5 ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คือ ภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งการอนุรักษ์ การพัฒนา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน เช่น การบวชป่า, การสืบชะตาแม่น้ํา, การทําแนวปะการังเทียม,การอนุรักษ์ป่าชายเลน เป็นต้น
สาขาที่ 6 ด้านศิลปกรรม คือ ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะสาขาต่าง ๆ เช่น จิตรกรรม,ประติมากรรม, นาฏศิลป์, ดนตรี, ทัศนศิลป์, คีตศิลป์, การละเล่นพื้นบ้านและการนันทนาการ เช่น การขับร้องเพลงอีแซว, ลําตัด, ลิเก, หมอลํา, โนรา เป็นต้น
สาขาที่ 7 ด้านภาษาและวรรณกรรม คือ ภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการใช้ภาษาทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน เช่น ภาษาโบราณ, ภาษาถิ่น, หนังสือ, ตํารา, ตํารับอาหาร, งานประพันธ์/บทประพันธ์ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง,เรื่องสั้น นวนิยาย นิทาน บทเพลงต่าง ๆ เป็นต้น
สาขาที่ 8 ด้านอื่น ๆ เช่น ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านความเชื่อ ศาสนา ประเพณี พิธีกรรม อาหารไทย อาหารพื้นบ้าน เป็นต้น
รายการเอกสาร
ลำดับ | ชื่อเอกสาร | ขนาดไฟล์ | ดาวน์โหลด(ครั้ง) |
---|---|---|---|
1 | ฐานข้อมูลภูมิปัญญท้องถิ่นตำบลแม่ทา | 1.45 MB. | 10 |